วิป (Whip) ไม่มีโครงสร้างการพูดที่ตายตัว อย่างไรก็ดีในโครงสร้างรัฐสภาเอเชียวิปของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจะไม่มีการเพิ่มเนื้อหาในหัวข้อใหม่ๆ แต่สามารถให้บทวิเคราะห์เพิ่มเติมในหัวข้อที่ได้กล่าวมาแล้วได้ วิปมีหน้าที่สรุปภาพรวมของการโต้วาทีนั้นๆ ผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพรวมของเคสและประเด็นต่างๆของทั้งสองฝ่าย (Comparative Analysis) ใน ข้อขัดแย้ง (Clash) นอกจากนี้วิปยังคงสามารถหยิบยกประเด็นที่ผู้พูดก่อนหน้าไม่ได้โต้ตอบมาตอกย้ำ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับเคสของฝ่ายตัวเอง

ข้อขัดแย้ง (Clash) เป็นหัวข้อการโต้แย้งหนึ่งๆที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านซึ่งโต้ตอบไปมาเรื่อยๆ ทั้งรอบ วิปมีหน้าที่เปรียบเทียบให้คณะกรรมการเห็นในเหตุผลที่ทั้งสองฝ่ายได้พูดเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

วิปมีหน้าที่ในการโน้มน้าวใจคณะกรรมการถึงสาเหตุที่ฝ่ายตนเองให้เหตุผลที่มีน้ำหนักมากกว่าฝ่ายตรงข้ามใน Clashes ต่างๆ อาจให้เหตุผลหรือข้อวิเคราะห์เพิ่มเติมจากผู้พูดสองคนก่อนหน้านี้ (More Analysis) หรือ ทำให้เคสสมบูรณ์โดยการให้เหตุผลเพิ่มเติมจนได้ข้อสรุป (Driving logic to its conclusion) จากนั้นวิปอาจเปรียบเทียบถึง กรณีที่ดีที่สุด (Best Case) และ กรณีที่เลวร้ายที่สุด (Worst Case) ของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และ พิสูจน์ให้กรรมการและผู้ฟังเห็นว่าฝ่ายตนเองนั้นดีกว่า