บทนำการโต้วาทีรูปแบบรัฐสภาเอเชีย - Introduction to Asian Parliamentary Format
การโต้วาทีสามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่เป็นที่นิยมในการแข่งขันระดับประเทศในประเทศไทย ได้แก่ รูปแบบรัฐสภาเอเชีย (Asian Parliamentary Format) ที่พบได้ในการแข่งขัน EU in TH และ THSDC และ รูปแบบโรงเรียนสากล (World’s School Format) ที่พบได้ในการแข่งขัน TWSDC
การจัดห้องในรูปแบบรัฐสภาเอเชีย
โดยทั่วไปรูปแบบโครงสร้างการโต้สาระวาทีแบบรัฐสภาเอเชียจะประกอบไปด้วย ๒ ฝั่ง ได้แก่ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน มีผู้โต้วาทีฝ่ายละ ๓ คน และ มีกรรมการเป็นจำนวนคี่อย่างน้อย ๑ คน
ลำดับการพูด
ผู้พูดในฝ่ายรัฐบาลจะประกอบไปด้วย
- นายกรัฐมนตรี (ผู้พูดลำดับที่ 1 ของฝ่ายรัฐบาล) - Prime Minister
- รองนายกรัฐมนตรี (ผู้พูดลำดับที่ 2 ของฝ่ายรัฐบาล) - Deputy Prime Minister
- วิปรัฐบาล (ผู้พูดลำดับที่ 3 ของฝ่ายรัฐบาล) - Goverment Whip
- ผู้กล่าวสรุปฝ่ายรัฐบาล (กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี) - Goverment Reply
ผู้พูดในฝ่ายค้านจะประกอบไปด้วย
- ผู้นำฝ่ายค้าน (ผู้พูดลำดับที่ 1 ของฝ่ายค้าน) - Leader of Opposition
- รองผู้นำฝ่ายค้าน (ผู้พูดลำดับที่ 2 ของฝ่ายค้าน) - Deputy Leader of Opposition
- วิปฝ่ายค้าน (ผู้พูดลำดับที่ 3 ของฝ่ายค้าน) - Opposition Whip
- ผู้กล่าวสรุปฝ่ายค้าน (กล่าวโดยผู้นำฝ่ายค้านหรือรองผู้นำฝ่่ายค้าน) - Opposition Reply
ลำดับการพูดจะเริ่มต้นจากผู้พูดลำดับที่ 1 ของฝ่ายเสนอ ตามด้วยผู้พูดลำดับที่ 1 ของฝ่ายค้าน เช่นนี้ไปจนถึงผู้พูดลำดับที่ 3 ของฝ่ายค้าน แล้วจะตามด้วยผู้กล่าวสรุปของฝ่ายค้านก่อน และปิดด้วยผู้กล่าวสรุปของฝ่ายเสนอ