หน้าที่ของแต่ละฝ่าย

ฝ่ายรัฐบาล

  • สนับสนุนญัตติ (Support the Motion)
  • ให้คำจำกัดความญัตติ (Define the terms in the Motion)
  • ตระหนักถึงปัญหาในญัตติ (Recognize the problem in the motion)
  • นำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา (Propose a solution) หรือการเปลี่ยนแปลง
  • ในญัตติที่เน้นทางปฏิบัติ ควรนำเสนอมาตรการหรือนโยบาย (Models/Mechanisms/Policies) ที่มีขั้นตอนชัดเจน
  • โต้ตอบกับฝ่ายค้านในประเด็นต่างๆ (Engage with the Opposition)

ฝ่ายค้าน

  • คัดค้านญัตติ (Oppose the Motion)
  • อาจปฏิเสธคำจำกัดความของฝ่ายรัฐบาล (Challenge Government's Definition) ในกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลให้คำจำกัดความที่ไม่ยุติธรรมเท่านั้น
  • ตระหนักถึงปัญหา (Recognize the Problem in the Motion)
    ในญัตติที่อาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือคนละปัญหากับฝ่ายรัฐบาล
  • คัดค้านการนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล (Oppose Government’s proposed solution)
  • ในญัตติที่เน้นทางปฏิบัติ อาจนำเสนอมาตรการหรือนโยบายที่แตกต่างจากฝ่ายรัฐบาล (Models/Mechanism/Policy) หรือ ยึดสภาพปัจจุบัน (Status Quo)
  • โต้ตอบกับฝ่ายรัฐบาลในประเด็นต่างๆ (Engage with Government)

ศัพท์ที่ควรรู้

  1. ญัตติ (Motion) ญัตติในการโต้วาทีเปรียบเสมือนหัวข้อในการเขียนเรียงความ ญัตติอาจมีได้หลายประเภททั้งรูปแบบที่เน้นหลักการ (Principle Motions) หรือ เน้นการปฏิบัติ (Practical Motions) โดยทั่วไปญัตติจะบอกมาตรการหรือวิธีการขึ้นมา
  2. คำจำกัดความ (Definition) คำจำกัดความ คือ การให้คำอธิบายคำศัพท์เฉพาะ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายรวมไปถึงคณะกรรมการผู้ตัดสินเข้าใจว่าการโต้วาทีรอบนั้นๆจะมีแกนสำคัญที่จุดใดๆ คำจำกัดความมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหลายๆครั้งศัพท์เฉพาะที่ถูกนำมาใช้ประกอบญัตติล้วนแต่คลุมเครือและไม่เจาะจง เช่น หากดูที่ญัตติที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้น THBT globalization perpetuates social inequity คำศัพท์อย่างเช่น globalization และ social inequity เป็นศัพท์ที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ฉะนั้นฝ่ายรัฐบาลจึงควรจำกัดความทั้งสองคำนี้ลง เพื่อให้ปัญหาและเคสที่ฝ่ายรัฐบาลนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น ฝ่ายค้านสามารถเข้าใจได้และโต้ตอบ (Engage) ได้ ทำให้การโต้วาทีรอบนั้นมีคุณภาพ ไม่ใช่ขาดความเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย จนทำให้พูดกันไปคนละเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  3. ปัญหาในญัตติ (Problem of the debate) ทุกๆ ญัตติจะต้องมีปัญหาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดๆ หรือ ต้องการมาตรการหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้นแล้วการหาปัญหาในญัตติจึงถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่นักโต้วาทีทุกคนไม่ควรละเลย โดยญัตติหนึ่งๆอาจมีปัญหามากกว่าหนึ่งปัญหา สิ่งที่สำคัญคือการขั้นตอนในการหาปัญหาที่มีอยู่ในญัตติ โดยอาจทำได้ผ่านการหาความขัดแย้งในตัวการ (Actors) ที่เกี่ยวข้องกับญัตตินั้นๆ หรือ อาจทำได้โดยการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปในสถานการณ์ปัจจุบัน (Status Quo) เป็นต้น
  4. มาตรการหรือวิธีการ (Model/Mechanism) มาตรการหรือวิธีการแก้ไขปัญหา คือ ขั้นตอนที่อธิบายชัดเจนถึงการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในญัตติที่ฝ่ายนั้นๆนำเสนอ โดยมาตรการที่ดีควรจะต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Checks and Balances) เพื่อให้มาตรการดำเนินไปได้ อาจจะเป็นบุคคลที่สามที่เป็นกลางและความน่าเชื่อถือ เช่น องค์กรสหประชาชาติ เป็นต้น ถึงกระนั้นแล้วมาตรการและวิธีการแก้ไขปัญหานั้นอาจจะไม่จำเป็นสำหรับทุกญัตติ
  5. การโต้ตอบ (Engagement) การโต้ตอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการโต้วาทีทุกๆครั้ง ที่หลายๆครั้งนักโต้วาทีมักละเลย การโต้ตอบ เปรียบเสมือนการไปตีเคสของอีกฝ่าย คือสิ่งที่ชี้ให้กรรมการเห็นถึงข้อผิดพลาดและความไม่สมเหตุสมผลของเคสอีกฝ่าย หลายๆครั้งผู้โต้วาทีจะเทความสนใจไปกับการสร้างเคสของฝ่ายตนเอง จนลืมที่จะตอบโต้กับอีกฝ่าย จนกลายเป็นการโต้วาทีคู่ขนาน (Parallel Debate) ที่ต่างฝ่ายต่างพูดในปัญหาที่ตนเองได้เจอ และ วิธีการแก้ปัญหาของฝ่ายตนเอง ไม่ได้โต้กันอย่างแท้จริง ทำให้กรรมการไม่สามารถให้ฝ่ายใดชนะอย่างชัดเจนได้ มีหลากหลายวิธีที่ฝ่ายหนึ่งๆจะสามารถโต้ตอบกับอีกฝ่าย โดยอาจทำได้ผ่านการสร้างข้อโต้แย้ง (Rebuttals) ที่จะไปโต้กับประเด็น (Arguments) ของอีกฝ่ายโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประเด็นเชิงลบ (Negative Arguments) ซึ่งเป็นประเด็นที่พูดถึงผลเสียของอีกฝ่ายอย่างเดียว ไม่พูดถึงผลดีของฝ่ายตนเอง หรือ การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Comparative Analysis) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบให้ผู้ฟังเห็นว่าเคสของฝ่ายใดดีกว่ากัน เพื่อโต้ตอบได้อีกด้วย