ชาวโรฮิงญาคือใคร? ทำไมถึงพวกเขาถึงไม่ได้รับสิทธิจากรัฐพม่า? สภาพความเป็นอยู่ปัจจุบันของชนกลุ่มน้อยนี้เป็นอย่างไร?

ในอดีต ดินแดนซึ่งเป็นประเทศพม่าในปัจจุบันประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม มีความหลากหลายทางศาสนา ภาษา วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตมาก อย่างไรก็ตามชาติพันธุ์ที่ครองอำนาจทางการปกครองสูงสุดคือชาวพม่า โดยมีศาสนาหลักคือศาสนาพุทธ

ดินแดนตะวันตกสุดของพม่า คือ รัฐยะไข่ โบราณเรียกว่า รัฐอาระกัน (Arakan) ชาวรัฐอาระกันส่วนมากเป็นชาวมุสลิม รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากบังคลาเทศ ส่วนหนึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรฮิงญา

ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม (Colonial Era) อังกฤษยึดพม่าเป็นเมืองขึ้นจากการใช้ยุทธวิธีแบ่งแยกและปกครอง (Divide and Conquer)

ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา (Pacific War) ญี่ปุ่นรุกรานประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งพม่า ชาวพม่าร่วมมือกับญี่ปุ่นโดยหวังว่าจะสามารถปลดแอกจากอังกฤษได้ อังกฤษตอบโต้โดยการติดอาวุธให้ชาวอาระกันและสัญญาว่าจะให้อิสรภาพเมื่อสงครามยุติ ชาวอาระกันจึงรบกับชาวพม่าและญี่ปุ่น

เมื่อคราวสงครามยุติ ถึงแม้ว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะพ่ายแพ้ กระบวนการเคลื่อนไหวในพม่าเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษก็ยังไม่ท้อถอย เกิดการรบระหว่างกองกำลังทหารติดอาวุธของพม่าในนาม SLOC (The State Peace and Development Council) กับทหารอังกฤษ ในที่สุด พม่าก็ได้รับชัยชนะ

หลังได้เอกราช พม่ายังคงเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทาง รัฐทหารของพม่าให้สิทธิพลเมืองแก่ชนทุกชาติพันธุ์ ยกเว้นชาวอาระกันผู้ร่วมรบฝ่ายอังกฤษ และชาวโรฮิงญาซึ่งผสมกลมกลืนวัฒนธรรมระหว่างชาวรัฐอาระกันกับชาวบังคลาเทศ โดยถือว่าคนกลุ่มนี้เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย

ตราบจนปัจจุบัน ชาวโรฮิงญายังคงไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้รับสิทธิใดๆ จากรัฐ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิได้รับการศึกษา สิทธิรักษาพยาบาล สิทธิในการยกเว้นภาษีและมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ

สถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดกับชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ทวีความรุนแรงและเลวร้ายขึ้น ชาวโรฮิงญาทั้งหมดยากจน มีชิวิตที่ยากลำบาก รัฐบาลพม่าพยายามผลักดันคนกลุ่มนี้ออกนอกประเทศ มีจำนวนมากลงเรือหนี แล่นเรือมาทางชายฝั่งอันดามันในภาคใต้ของไทยโดยมุ่งหวังว่าจะเดินทางต่อไปประเทศที่ 3 ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่ชาวโรฮิงญาจำนวนไม่น้อยกลับตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์โดยเฉพาะเป็นแรงงานในภาคประมงน้ำลึก และถึงแม้จะฝ่าฟันจนถึงประเทศเป้าหมาย บางครั้งก็ไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศเหล่านั้น

นับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุดในโลก