สิทธิเป็นหลักพื้นฐานที่นิยามว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง บุคคลอื่นสามารถทำอะไรเราได้บ้าง เราสามารถเรียกร้องอะไรจากรัฐได้บ้าง และรัฐสามารถทำอะไรเราได้บ้าง

ที่มาของสิทธิในแต่ละบริบทสังคมแตกต่างกัน พิจารณา4ที่มาดังนี้:

1. พระเจ้า (God)
เรามีสิทธิเพราะพระเจ้าให้เรามาหรือไม่? แล้วคนที่ไม่นับถือพระเจ้ามีสิทธิหรือไม่? ขอบเขตของสิทธิที่พระเจ้าให้คืออะไร?

2. ประโยชน์ (Utility)
เรามีสิทธิเพราะผลลัพท์ที่ดีที่สุดเกิดจากสิทธิเหล่านี้เสมอใช่หรือไม่? ถ้าสิทธิไม่มีประโยชน์สามารถเพิกถอนได้หรือไม่(เช่นการทารุณกรรมเพื่อสืบสวน)?

3. เป็นของมนุษย์โดยเนื้อแท้ (Inherent in humans)
เรามีสิทธิเพราะเรามีจิตวิญญาณ? แล้วคนที่ไม่นับถือศาสนาหล่ะ? หรือใช้เกณฑ์ความมีสติ(consciousness)และความมีเหตุผล(rationality)? แล้วทารกกับผู้พิการรุนแรงหล่ะ?

4. ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory)*
สัญญาประชาคมคือสัญญาโดยนัยระหว่าง สังคม/รัฐ กับ ผู้คน ในการแจกแจงสิทธิหน้าที่มีเนื้อหาโดยรวมคือ:
4.1 ประชาชนลดอิสรภาพและขอบเขตสิทธิของตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อความคุ้มครองจากรัฐ
4.2 หากประชาชนกระทำการเกินขอบเขตสิทธิของตนเข้าลุกล้ำสิทธิของผู้อื่นหรือสิทธิของรัฐ รัฐมีสิทธิลงโทษประชาชนคนนั้น


ประเภทของสิทธิ

1. สิทธิเฉื่อย (Negative/Liberty Rights)
สิทธิเหล่านี้ทุกคนพึงมีโดยไม่ต้องใช้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลให้สิทธิเกิดขึ้น หน้าที่ของรัฐคือไม่ขัดขวางสิทธิ และไม่ให้ผู้อื่นเข้าขัดขวางสิทธิโดยใช้กฎหมาย เช่นสิทธิที่จะไม่ถูกทารุณกรรม (Freedom from pain/torture)

2. สิทธิจากการปฏิบัติ (Active/Benefit Rights)
สิทธิเหล่านี้ต้องใช้ความช่วยเหลือสนับสนุนจากรัฐบาลจึงเกิดขึ้นได้ เช่นสิทธิที่จะได้รับการศึกษา (Rights to education)

3. สิทธิบุคคล (Individual Rights)
สิทธิที่สอดคล้องกับตัวบุคคลเป็นหลัก สิทธิบุคคลมักเป็นสิทธิเฉื่อยเป็นเสรีภาพในการกระทำการต่างๆของประชาชน เช่นบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง(Bill of Rights)ของสหรัฐฯ

4. สิทธิชุมชน (Community Rights)
สิทธิที่สอดคล้องกับชุมชน และผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวม เชื่อว่าสิทธิบุคคลบางประการอาจมีผลเสียมากกว่าผลดีหรือสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ชุมชน สิทธิประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับสิทธิจากการปฏิบัติ เป็นที่นิยมในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

5. สิทธิทางกฎหมาย (Legal Rights)
สิทธิทางกฎหมายมีความเคร่งครัดกว่าสิทธิอื่นๆ หากไม่ได้สิทธิดังกล่าวสามารถเอาผิดทางกฎหมายได้ เช่นสิทธิในการมีที่อยู่ (rights to shelter)ในแอฟริกาใต้


ข้อจำกัดของสิทธิ

1. หลักภัยอันตราย (The Harm Principle)
สิทธิมีขอบเขตจำกัดอยู่ที่จุดที่เริ่มล่วงเลยสิทธิอื่นๆ เช่น A ไม่มีสิทธิต่อย B เพราะจะเป็นการล่วงเลยสิทธิการไม่ถูกทำร้ายร่างกายของ B
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ไม่มีคำจำกัดสิทธิที่ชัดเจนว่าสิทธิเริ่มล่วงเลยสิทธิอื่นๆเมื่อใด เช่นสิทธิในการใช้ยาเสพติด หากใช้แล้วทำร้ายร่างผู้อื่นจะผิดแน่ๆ แต่หากใช้แล้วอยู่เฉยๆผิดหรือไม่? ผู้ที่บอกว่าผิดจะให้เหตุว่ารัฐต้องจ่ายค่าดูแลรักษาคนเหล่านี้เมื่อสภาพร่างกายย่ำแย่ สิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างใช่เหตุและเป็นภาระของรัฐ (Social Cost) (ใช้คำอธิบายเดียวกับกฎบังคับคาดเข็มขัดนิรภัยและหมวกกันน๊อค) เส้นที่คั่นกลางระหว่างยาเสพติด(ผิดกฎหมาย)และแอลกอฮอล(ถูกกฎหมาย)เป็นเส้นที่ไม่ชัดเจน

หลักดังกล่าวนอกจากจะใช้กับสิทธิเฉื่อย(Negative Rights)ได้แล้วยังใช้กับสิทธิจากการปฏิบัติ(Positive Rights)ได้ด้วย เช่น ภาษีกระจายรายได้ (Redistributive Tax) ซึ่งเป็นระบบภาษีที่ลดสิทธิของคนรวย (เก็บภาษีเพิ่ม)เพื่อเพิ่มสิทธิให้คนจน (ให้สวัสดิการรัฐที่ดีขึ้น)

2. หลักการยินยอมของบุคคลและการดูแลของรัฐ (Consent and Paternal State)
อีกเหตุหนึ่งที่อาจทำให้รัฐก้าวก่ายสิทธิของบุคคลได้คือเมื่อบุคคลไม่สามารถตัดสินใจ(เลือก)สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองได้ เช่นกฎหมายที่ห้ามเยาวชนสัก ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล ห้ามมีเพศสัมพันธ์เป็นตัน
ช่องโหว่ของหลักนี้คือสติสัมปชัญญะและความสามารถในการตัดสินใจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้ คือไม่มีเกณฑ์จำกััดที่กำหนดอย่างตายตัวว่ารัฐมีสิทธิก้าวก่ายการตัดสินใจของบุคคล เพราะบุคคลไม่มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเองและอาจเป็นผลร้ายต่อตนเองในอนาคตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่มเมื่อธรรมชาติของมนุษย์มักเห็นผลประโยชน์ระยะสั้นเป็นสำคัญและมองข้ามผลกระทบระยะยาว เช่นการสูบบุหรี่ หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ(เป็นผลกระทบต่อส่วนรวม collective-action problem)เป็นต้น


การหาสมดุลของสิทธิ

เมื่อสิทธิสองอย่างที่เหมือนจะมีความสำคัญเท่ากันแต่ขัดแย้งกัน เราจะเลือกให้ความสำคัญอย่างไร? หลักการตัดสินมี 2 ข้อหลักคือ

1. ลำดับชั้นของสิทธิ (Hierarchy of Rights)
ลำดับอาจแตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์แต่โดยปกติลำดับคือ สิทธิในการมีชีวิต(Right to Life)-> สิทธิในการไม่ถูกทารุณ/ทำร้าย (Freedom from pain and suffering)-> สิทธิเสรีภาพในการกระทำสิ่งต่างๆ(Right to Autonomy)-> สิทธิรอง(Secondary Rights) เช่น ความเป็นส่วนตัว(Privacy) เสรีภาพในการพูด(Freedom of Speech) เสรีภาพในการนับถือศาสนา(Rights to Practice Religion) สิทธิในการได้รับการศึกษา(Rights to Education) เป็นต้น

2. ประโยชน์ (Utility)
สิทธิใดให้ประโยชน์สูงสุด? อย่างไรก็ตามหลักนี้อาจย้อยแย้ง ควรตอบคำถามให้ได้ว่าหากสนใจผลประโยชน์สูงสุดทำไมต้องคำนึงถึงสิทธิ