ประเทศเวเนซูเอล่าเป็นประเทศในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบัน เวเนซูเอล่าเป็นรัฐล้มเหลว (Failed state) สกุลเงินของเวเนซูเอลา คือ Bolivar fuerte (VGF) อยู่ในสภาพด้อยค่ามากจนไม่มีใครอยากได้ (hyperinflation) นับจากปีค.ศ.2016 ถึง ค.ศ.2019 ค่าเงินดังกล่าวมีอัตราเฟ้อถึง 53,798,500%

วิกฤตนี้เป็นผลจากปัญหาทางโครงสร้างของรัฐบาล มีปัจจัยขับเคลื่อน 2 ปัจจัยหลักคือด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง

ด้านเศรษฐกิจ

ในอดีต เวเนซูเอล่าเป็นประเทศเกษตรกรรม มีผลผลิตหลักคือกาแฟ โกโก้ และข้าวโพด

ต่อมาเวเนซูเอล่าขุดพบน้ำมันดิบ และพบว่าตนมีปริมาณน้ำมันดิบสำรองมากถึง 20% ของโลก

บริษัตสำรวจ ขุดเจาะ และกลั่นน้ำมันข้ามชาติจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาทำธุรกิจในประเทศทำให้ผลประโยชน์แทบไม่ตกเป็นของประชาชนท้องถิ่น

อดีตประธานาธิบดี Andrés Pérez เห็นช่องทางที่จะทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนจึงยึดกิจการน้ำมันต่างชาติมาเป็นสมบัติรัฐบาลและจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (Petróleos de Venezuela) รัฐมีรายได้มหาศาลและประชาชนเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายได้ของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไม่มั่นคง ในปีต่อมา กำไรเริ่มลดลงเพราะองค์กรด้อยประสิทธิภาพ บุคคลากรที่รับผิดชอบขาดความชี่ยวชาญและขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประจวบกับปัญหาคอรัปชั่นและการใช้เส้นสายในหมู่ผู้บริหาร

เมื่อตลาดน้ำมันโลกยังทรงตัวอยู่ได้ ผลกระทบก็ยังไม่รุนแรง แต่เมื่อตลาดน้ำมันโลกประสบปัญหา วิกฤตจึงปะทุขึ้น


ด้านการเมือง

ในช่วงปีค.ศ.1999 ถึง ค.ศ.2013 เวเนซูเอลามีประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งคือ อูโก ชาเบซ (Hugo Chávez) เหตุที่อูโกครองอำนาจได้อย่างยาวนานเพราะใช้นโยบายประชานิยม (ระบอบชาเบซ: Chavismo) คือใช้นโยบายลดและแจกเพื่อซื้อใจประชาชน

นโยบายลดและแจก ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ลดราคาน้ำมันสำเร็จรูป และลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน(ผ่านการอุ้มราคา) อีกทั้งยังมีนโยบายเรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี และไม่คิดค่าธรรมเนียมบริการใดๆของรัฐ ทั้งหมดทำผ่านการแทรกแทรงกลไกตลาดของรัฐบาล

ชาวเวเนซูเอลาเสพติดประชานิยมงอมแงม รัฐบาลพรรคเดียวของชาเบซจึงชนะการเลือกตั้งและโกงกินประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 14 ปี

ฝ่ายค้านซึ่งเป็นฝ่ายสังคมนิยมได้รับการสนับสนุนจากคิวบา ต้องพ่ายแพ้ฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ (สหรัฐฯจำใจสนับสนุนเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ถึงแม้ว่าบริษัทน้ำมันของตนจะโดนยึดก็ตาม)

หลังจากที่ชาเบซถึงแก่อสัญกรรมในปีค.ศ.2013 ทายาททางการเมือง นิโกลัส มาดูโร (Nicolas Maduro) ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

ในปลายปีค.ศ.2014 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลงมากกว่า50% กระทบรายได้ของประเทศมาก ในขณะที่รายจ่ายยังคงเท่าเดิม ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นขาดแคลนอย่างหนัก ประชาชนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลขาดยาและเวชภัณฑ์ อัตราการก่ออาชญากรรมพุ่งสูงลิบ

ฝ่ายค้านได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้นเพิ่มความกดดันแก่รัฐบาล รัฐบาลตอบโต้โดยการกล่าวหาว่าฝ่ายค้านเป็นต้นเหตุของวิกฤตโดยร่วมมือกับสหรัฐฯเพื่อโค่นล้มรัฐบาล

เกิดการชุมนุมประท้วงโค่นล้มรัฐบาลอย่างรุนแรงขึ้นแต่มาดูโรมีทหารปกป้องเพราะให้สวัสดิการเลี้ยงดูทหารดี รัฐบาลปราบปรามประชาชนที่เห็นต่างอย่างรุนแรงส่งผลให้เวเนซูเอล่าถูกสหรัฐฯและนานาชาติคว่ำบาตรทั้งทางการทูตและการค้า

เมื่อองค์กรสหประชาชาติ (UN) ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ รัฐบาลมาดูโรกลับปฏิเสธเนื่องจากเกรงว่าต่างชาติจะเข้าแทรกแทรงกิจการภายใน

เวเนซูเอล่าเป็นรัฐล้มเหลวจนปัจจุบัน

ในปีค.ศ.2020 ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างประธานาธิบดีมาดูโรและผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ฮวน กวยโด (Juan Guaidó) อย่างไรก็ตาม มาดูโรยังคงมีอำนาจที่เหนือกว่าเนื่องจากมีกองกำลังทหารส่วนมากสนับสนุน


สรุปผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเวเนซูเอล่า

  1. ประชาชนขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน
  2. ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาพยาบาล
  3. ผู้คนจำนวนมากไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้
  4. ผู้ประท้วงหรือเห็นต่างจากรัฐบาลถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
  5. ประชากรเกือบ5ล้านคน (จาก30ล้านคน) อพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ