Black Lives Matter หรือชีวิตคนดำมีความหมาย เป็นกระแสการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของคนผิวดำในสหรัฐฯซึ่งเริ่มขึ้นในปีค.ศ.2012เมื่อชาวอเมริกันผิวขาวจอร์จ ซิมเมอร์แมน (George Zimmerman)ยิงชาวอเมริกันผิวสีเทรย์วอน มาร์ติน (Trayvon Martin)เสียชีวิตในมลรัฐฟลอริดา ประชาชนจำนวนมากออกมาประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมและสิทธิในการมีและใช้ชีวิตอันเท่าเทียมของคนผิวสี หลังจากปีค.ศ.2012 มีการประท้วงของกลุ่มดังกล่าวอีกเป็นครั้งคราวแต่ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก เหตุการณ์ปะทุขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ.2020ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม

เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวของกับการประท้วงเรียกร้องสิทธิคนดำในปีค.ศ.2020 มีทั้งหมด 4 เหตุการณ์ดังนี้:

1. อาร์โมด์ อาร์เบอร์รี่ (Ahmaud Arbery)
เช้าวันที่23 กุมภาพันธ์ อาร์โมด์วิ่งออกกำลังกายในเขตชุมชนริมทะเลของมลรัฐจอร์เจีย ชายสองคนพ่อลูกตระกูลแมคไมเคล์(McMichael)เมื่อเห็นอาหมัดวิ่งผ่านหน้าบ้านตนก็คว้าปืนขึ้นรถกระบะแล้วขับตาม พ่อลูกอ้างว่าเป็นห่วงความปลอดภัยของตนและคนอื่นในชุมชนจึงขานเรียกนายอาร์โมด์มาพูดคุยด้วยแต่นายอาร์โมด์ไม่หยุดจึงยิงปืนพกใส่นายอาร์โมด์3นัดจนเขาล้มลงและเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ
ผ่านมาเป็นเวลากว่า2เดือน พ่อลูกตระกูลแมคไมเคล์ก็ยังไม่ได้ถูกส่งตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หนำซ้ำมีการปล่อยคลิปจากรถที่ขับตามหลังผู้ก่อเหตุลงสื่อต่างๆช่วงต้นเดือนพฤษภาคมส่งผลให้ประชาชนไม่พอใจ เกิดคำพูดที่ว่า “I run with Ahmaud” หรือ ฉันวิ่งกับอาร์โมด์ ขึ้น

2. เอมี่ คูปเปอร์ (Amy Cooper)
เหตุการณ์เกิดขึ้นในสวนสาธารณะเซนทรัลพาร์กเมื่อคริสเตียน ชาวอเมริกันผิวสี เตือนให้เอมมี่ ชาวอเมริกันผิวขาวใช้สายจูงสุนัขของตนเพราะเป็นกฎของสวนสาธารณะ เอมมี่ขู่คริสเตียนว่าจะโทรแจ้งตำรวจว่ากำลังถูกชายผิวสีข่มขู่คุกคามทำร้ายร่างกาย คริสเตียนโชคดีที่อัดวีดีโอไว้จึงไม่ถูกเอาผิด เมื่อนำวีดีโอลงสื่อโซเชียล ผู้คนเริ่มโกรธแค้นและหิวโหยความยุติธรรม ต่อมาเอมมี่ถูกสังคมรุมประนามและถูกไล่ออกจากงาน

3. จอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd)
จอร์จเป็นพนักงานในร้านอาหารแห่งหนึ่ง เขาถูกสงสัยว่าใช้ธนบัตรปลอม ตำรวจจึงเข้าจับกุมเขา กดตัวเขาไว้กับพื้น และใช้เข่าทับคอเอาไว้ ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งอัดวีดีโอบันทึกเหตุการณ์ความยาวรวม10นาที ในช่วง5นาทีแรก จอร์จร้องขอชีวิตพร้อมกับพูดว่า “I can’t breath” หรือฉันหายใจไม่ออก แต่ตำรวจก็ยังกดทับเขาจนเขาหมดสติไป ต่อมารถพยาบาลมาถึงแต่ก็ไม่ทันการณ์ จอร์จเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา ตำรวจทั้งสี่คนที่เข้าจับกุมถูกปลดออกจากหน้าที่ นายกรัฐมนตรีออกมาขอโทษ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่เพียงพอสำหรับชาวอเมริกันอีกต่อไป

4. การประท้วงมินนิแอโพลิส (Minneapolis Protest)
ชาวเมืองมินนิแอพโพลิสออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมสำหรับคนผิวสี ในช่วงแรกการประท้วงเป็นไปด้วยความสงบ ต่อมามีเสียงปืนดังขึ้น ผู้ประท้วงและตำรวจเริ่มปะทะกัน การประท้วงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทย ผู้ประท้วงจำนวนมากบุกเข้าห้างสรรพสินค้า ขโมยข้าวของ ทุบกระจกรถยนต์ และเผาสิ่งต่างๆ กระแสการประท้วงลามสู่เมืองใหญ่อื่นๆเช่น นิวยอร์ก เหตุการณ์รุนแรงมากจนทหารต้องลงพื้นที่ การประท้วงครั้งนี้ไม่ได้เป็นการประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้จอร์จ ฟลอยด์เพียงเท่านั้น แต่เป็นการประท้วงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมสำหรับชาวอเมริกันผิวสีที่ถูกกดขี่มาอย่างยาวนานทุกคน


ทฤษฎีจุดพลิกผัน (Tipping point theory)

การกลับมาของความเคลื่อนไหว #blacklivesmatter นี้นอกจากจะเตือนใจถึงความสำคัญของความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติแล้ว ยังเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงถึงจุดพลิกผันอีกด้วย
หากสังคมเปรียบเสมือนแก้วเปล่าใบหนึ่ง เหตุการณ์ในปีค.ศ.2012คือการเติมน้ำเข้าไปครั้งแรก เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ในปีต่อๆมาระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆแต่ความเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจนมากนัก ในปีค.ศ.2020น้ำเริ่มปรื่มแก้ว จอร์จ ฟลอยด์คือหยดสุดท้ายที่ทำให้น้ำล้นออกมา การประท้วงรุนแรงจึงปะทุขึ้นอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ที่เวบไซต์ Black Lives Matter

ศึกษาและสนับสนุนธุรกิจของคนผิวสีได้ที่นี่