ในระดับปัจเจกบุคคล ศาสนามีหน้าที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ในระดับสังคม ศาสนาเป็นความเชื่อร่วม(common belief)ที่เสริมสร้างความเชื่อใจและสารสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ส่งเสริมความร่วมมือทำให้สังคมเดินหน้าไปได้
ศาสนากับปัจเจกบุคคล
ศาสนานิยามวิถีชีวิตของคน กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีต่างๆล้วมขึ้นกับศาสนา ความเชื่อทางศาสนาคือสิ่งสำคัญสูงสุด ในหลายๆกรณี สำคัญกว่ากฎหมายหรือกฎสังคมเสียอีก
ศาสนามีลักษณะคล้ายกับวิทยาศาสตร์มากกว่าปรัชญา คือบอกว่าสิ่งใดเป็นสัจธรรมความจริง บอกความถูกผิดชัดเจน(factuality) แต่ไม่ได้บอกว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ ”ดี” หรือ ”ควรทำ” เพราะเหตุใด
การนับถือศาสนาเป็นทางเลือก(choice)หรือไม่?
โดยเบื้องต้น การนับถือศาสนาไม่ได้เกิดจากการเลือกเพราะคนส่วนมากเกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่สั่งสอนปลูกฝังศาสนานั้นๆเลย ไม่ได้มีสิทธิเลือกเกิด
อย่างไรก็ตาม ศาสนาสามารถแปรสภาพเป็นผลของการเลือกในภายหลังได้หากผู้นั้นเลิกนับถือศาสนาเดิมหรือเปลี่ยนศาสนาที่นับถือใหม่ในภายหลัง อาจด้วยอิทธิพลและเหตุผลใดๆก็ตาม
ข้อดีของศาสนา
- เป็นศีลธรรมยึดเหนี่ยวใจ ช่วยตัดสินว่าสื่งใดถูกสิ่งใดผิด (moral compass)
- ส่งเสริมกิจกรรมการกุศล
- ให้จุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิต (sense of purpose)
- สร้างความเป็นชุมชน (sense of community)
- ให้ความหวังเมื่อสิ้นหวัง

ศาสนากับสังคมชุมชน
ศาสนากำหนดความผิดชอบชั่วดี(moral conscience)ของการกระทำต่างๆในสังคม ไม่ขึ้นกับหรือแปรตามความเห็นของคนหมู่มาก
ศาสนาสร้างความรู้สึกเท่าเทียมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างกับคนในสังคม ไม่ว่าจะชาติพันธ์ุหรือฐานะใดก็เท่าเทียม สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ฉันญาติ
ศาสนาโยเนื้อแท้เปลี่ยนแปลงได้ยากเพราะศาสนาว่าด้วย “สัจธรรม” ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง เป็นจริงเสมอ ความเปลี่ยนแปลงส่วนมากมักเป็นความเปลี่ยนแปลงภายนอกเล็กน้อยทางสุนทรียะ(aesthetics)เท่านั้น แต่แก่น(core belief)คงเดิม
ในกรณีที่แก่นบางส่วนเปลี่ยน แต่ศาสนาไม่เปลี่ยนตาม จะส่งผลให้ศาสนาแตกย่อยออกเป็นนิกายต่างๆ
**ศาสนาแต่ละศาสนามีความโดดเด่นงดงามแตกต่างกัน บทความนี้กล่าวถึงศาสนาโดยรวมในทางสังคมวิทยาเท่านั้น ไม่มีจุดประสงค์ที่จะวิจารณ์แต่อย่างใด