สิ่งแวดล้อมเป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่งของทุกประเทศ สิ่งแวดล้อมที่ดีส่งผลให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

แนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสามารถจำแนกเป็น 3 ประเภทหลักคือ

  1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบสุดโต่ง (Deep Green Ecology)
  2. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
  3. การพัฒนาเทคโนโลยีแบบสุดโต่ง (Technological Development)

แต่ละแนวคิดมีรายละเอียดดังนี้


นอกจากแนวคิดเหล่านี้แล้ว ยังมีทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยทำให้เคสแข็งแรงขึ้นได้

โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ (Tragedy of the commons)

สาธารณสมบัติ (Common Goods) คือสมบัติที่ไม่ได้อยู่ในครอบครองของใครแต่ทุกคนใช้ เช่น อากาศ ป่าไม้ และน้ำ

ตัวอย่างของโศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ

  1. ในสหราชอาณาจักร เมื่อชาวนาทุกคนใช้ทุ่งเลี้ยงสัตว์เดียวกัน ชาวนาทุกคนต่างพาวัวของตนไปเล็มหญ้าโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตนสูงสุด ส่งผลให้ทุ่งดังกล่าวเสียหายจนไม่สามารถมีหญ้าขึ้นได้อีก
  2. ในน่านน้ำสากล ชาวประมงต่างตกปลาจำนวนมากโดยไม่สนใจว่าผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร เพราะเชื่อว่าถ้าตนไม่ตกปลา ในที่สุดแล้วคนอื่นก็จะมาตกอยู่ดี

วิธีแก้ปัญหามีหลายวิธี เช่นการยกให้สาธารณสมบัติเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หรือการออกกฎควบคุมการใช้ วิธีแก้แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน

ผลกระทบภายนอกทางลบ (Negative externalities)

ผลกระทบ(externalities)ในที่นี้หมายถึงสิ่งใดก็ตามที่ไม่ได้รวมอยู่ในขบวนการการผลิตหรือผลผลิต แต่มีส่วนเกี่ยวของ เช่น มลพิษทางอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆแต่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ที่คนยังทำเพราะเป็นวิธีการปล่อยของเสียที่ลดต้นทุน(ไม่เสียค่ากรองอากาศ)

วิธีแก้ปัญหามีหลายวิธี เช่นการปรับ(อาจด้วยภาษี หรือด้วยแบบฟอร์มใบอนุญาต)เพื่อให้รวมค่ารักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปในต้นทุนการผลิต(ตัวอย่างคือ Carbon Trading) หรือจำกัดการใช้งาน